language :

อุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ กระบังลมหย่อน เกิดจากเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ ผู้ป่วยที่มีอวัยวะอุ้งเชิงการหย่อนเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการ ในรายที่มีการหย่อนชัดเจนจะมีอาการดังนี้

  • ปวดหน่วงในท้องน้อย
  • รู้สึกถ่วงในช่วงคลอดเหมือนมีอะไรจะหลุด
  • ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
  • คลำพบก้อนยื่นออกมาทางปากช่องคลอด ปัสสาวะ เล็ดขณะไอหรือจาม เป็นต้น
  • ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ต้องใช้นิ้วดันส่วนของช่องคลอดที่ยื่นออกมาให้เข้าไปก่อนจึงจะปัสสาวะหรืออุจจาระได้ตามปกติ
  • ตกขาวหรือมีเลือดออกตามช่องคลอดซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับภายนอก
  • อาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะเล็ด ขณะไอหรือจาม เป็นต้น
  • อาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ เช่นถ่ายอุจจาระไม่สุด กลั้นอุจจาระไม่ได้
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

ปัจจัยเสี่ยง

  1. หญิงตั้งครรภ์และคลอดทางช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคลอดยาก หรือใช้เครื่องมือช่วยคลอด
  2. วัยหมดประจำเดือน ทำให้ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
  3. ภาวะที่มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก ยกของหนักและภาวะโรคอ้วน

 

ศูนย์สูตินรีเวช 24 ชั่วโมง พร้อมให้คำปรึกษาปัญหาอุ้งเชิงกรานหย่อนและโรคอื่นๆ ทางนรีเวช

ข่าวประชาสัมพันธ์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

www.chaophya.com
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุง
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

ท่านสามารถติดต่อโรงพยาบาลได้ที่
เบอร์โทรศัพท์: 02-884-7000
Call Center : 02-433-8222 (เวลา 8.00-17.00 น.)
line@: @chaophya
Facebook: โรงพยาบาลเจ้าพระยา