language :

ลูกพูดช้า – สามารถปรึกษาได้ที่ ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเจ้าพระยา

           ปัจจุบันพบปัญหาเด็กพูดช้ามีจำนวนมากขึ้น จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าเด็กร้อยละ 5-10    มีพัฒนาการทางภาษาผิดปกติ พ่อแม่ควรสังเกตพัฒนาการของเด็ก ตั้งแต่อายุ 2 เดือน เด็กควรจะเริ่มเล่นเสียง พูดอ้อแอ้ หรือมีท่าทีสนใจเสียงแม่ เสียงคนเลี้ยง พออายุได้ 6-9 เดือน เด็กเริ่มหันหาเสียงและพูดตาม จากนั้นเมื่ออายุ 10-12 เดือน เด็กจะเริ่มจดจำเมื่อได้ยินคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ บ่อยครั้ง และนำคำนั้นมาใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย โดยเริ่มเป็นคำพยางค์เดียวก่อน พร้อมทำตามคำสั่งง่ายๆ ที่มีท่าทางประกอบ สุดท้ายเด็กจะพูดคำที่มีความหมายเมื่ออายุ 10-18 เดือน

           ถ้าบุตรหลานของท่านยังไม่เริ่มพูดคำที่มีความหมายเลย เมื่ออายุได้ 2 ปี หรือไม่พูดคำ 2 คำติดต่อกันเมื่ออายุ 2 ปีครึ่ง ตลอดจนไม่พูดเป็นวลีหรือประโยคสั้นๆ และยังไม่สามารถพูดโต้ตอบได้เมื่ออายุ 3 ปี ถือว่าอยู่ในเกณฑ์พูดช้า ซึ่งมีความจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของสาเหตุ ลูกพูดช้า

           ประเภทของเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าวัย ได้แก่ เด็กหูพิการ เด็กสมองพิการแต่กำเนิด เด็กปัญญาอ่อน เด็กออทิสติก นอกจากกลุ่มที่กล่าวไปแล้วยังมีเด็กบางรายที่มีปัญหาการพูดช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเกิดจากการขาดการกระตุ้นทางการพูดที่เหมาะสมและขาดแรงจูงใจในการพูด เด็กกลุ่มนี้มีท่าทีเข้าใจคำพูดของผู้อื่น ทำตามสั่งได้แต่ไม่ยอมพูดหรือพูดน้อย เนื่องจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงเข้าใจและตอบสนองได้ทุกเรื่องโดยที่เด็กไม่ต้องพูด บางทีพ่อแม่ปล่อยเด็กให้อยู่กับโทรทัศน์มากเกินไป จึงทำให้ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม พ่อแม่ควรแก้ไขโดยชักจูงให้เด็กใช้ภาษาในการสื่อสารให้มากขึ้น

           เด็กที่เริ่มพูดช้าควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่น กุมารแพทย์ โสต คอ นาสิกแพทย์ จิตแพทย์ ประสาทแพทย์ นักจิตวิทยา นักแก้ไขการได้ยินและนักแก้ไขการพูดเพื่อวางแผนในการแก้ไข รักษาก่อนที่จะสายเกินไป กับอาการของ ลูกพูดช้า

 

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

www.chaophya.com
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุง
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

ท่านสามารถติดต่อโรงพยาบาลได้ที่
เบอร์โทรศัพท์: 02-884-7000
Call Center : 02-433-8222 (เวลา 8.00-17.00 น.)
line@: @chaophya
Facebook: โรงพยาบาลเจ้าพระยา