โรคของหลอดเลือดแดงของหัวใจ (Coronary artery disease)
admin22024-02-22T13:29:27+00:00หัวใจของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย คือ ทำงานตั้งแต่ยังไม่เกิด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา และจะไม่มีโอกาสหยุดพักใด ๆ หลังจากเกิดขึ้นมาแล้ว พลังงานที่ได้ก็มาจากหลอดเลือดแดงของหัวใจ หลอดเลือดแดงของหัวใจนี้แยกออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เป็นส่วนที่หัวใจส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายทั้งหมดที่เรียกว่า Aorta และกระจายครอบหัวใจไว้ พร้อมทั้งส่งแขนงต่าง ๆ ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ คล้ายกับเป็นมงกุฎที่ครอบลงไปในหัวใจ จนได้ชื่อว่าหลอดเลือดมงกุฎ (Coronary artery) คล้ายกับชาวนาไทยที่ส่งข้าวไปเลี้ยงคนทั้งประเทศ แต่ตนเองอาจมีข้าวที่เลี้ยงตัวเองน้อยนิด จากหลอดเลือดมงกุฎ ซึ่งแยกเป็นซ้าย ขวา ขนาดก็ประมาณหลอดกาแฟ 3 - 4.5 มิลลิเมตร แตกต่างจากการได้รับพลังงานของสัตว์ชนิดอื่น เช่น พวกสัตว์เลื้อยคลานจะได้รับพลังงานโดยตรงจากเลือดทั้งหมดที่มีอยู่ในห้องของหัวใจ (สัตว์เลื้อยคลานไม่มีหลอดเลือดมงกุฎสำหรับเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ) เมื่อหลอดเลือดมงกุฎแคบลง ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน (O2) ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้เกิดอาการ เช่น เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอกเมื่อออกกำลังกายหรือเกิดความเครียด หรือจากการใช้ยา หรือสาร กระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดภาวะหัวใจวายหรือการเสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้ [...]