Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

About admin2

This author has not yet filled in any details.
So far admin2 has created 179 blog entries.

ภาพบรรยากาศงานสัมมนา “รักลูก@ Hospital 2023 มหัศจรรย์ภูมิคุ้มกัน สร้างได้ตั้งแต่ในครรภ์”

2023-06-19T15:29:47+00:00

ภาพบรรยากาศงานสัมมนา “รักลูก@ Hospital 2023 มหัศจรรย์ภูมิคุ้มกัน สร้างได้ตั้งแต่ในครรภ์”2023-06-19T15:29:47+00:00

แพ็คเกจการขูดมดลูก แบบ OPD และ IPD

2024-01-22T11:23:22+00:00

แพ็คเกจการตรวจวินิจฉัยแบบ OPD และ IPD ดังกล่าว ผู้ที่แท้งบุตรในภาวะเลือดออกตามปกติ กระแสเลือดทางตะวันตก เลือดออกในวัยหมดประจำเดือน

แพ็คเกจการขูดมดลูก แบบ OPD และ IPD2024-01-22T11:23:22+00:00

โรคอ้วนกับปัญหาการนอนหลับ

2023-09-13T16:37:47+00:00

          ภาวะอ้วนในประชากรภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก คือการที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป ภาวะอ้วนนี้สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรค ผู้ป่วยโรคอ้วนจะมีการสะสมไขมันมากเกินกว่าปกติตามอวัยวะต่างๆ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพและเกิดโรคเรื้อรังหลายประเภท เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ รวมถึงโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นและกลุ่มอาการอ้วนหายใจต่ำได้           ผู้ป่วยโรคอ้วนจะมีไขมันสะสมบริเวณช่องคอและทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่าปกติ ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลง แต่ในขณะตื่นกลุ่มกล้ามเนื้อคอหอยซึ่งมีหน้าที่ขยายช่องคอทำงานชดเชยได้จึงไม่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนนี้ เมื่อนอนหลับกล้ามเนื้อจะเกิดการคลายตัว การทำงานชดเชยของกล้ามเนื้อขยายช่องคอทำได้ไม่เพียงพอทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบขณะหลับ เกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea, OSA) ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาในระยะยาวก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ และโรคอื่น ๆ รวมถึงมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย โดยพบว่าความรุนแรงของโรคมักจะเพิ่มขึ้นตามดัชนีมวลกายที่เพิ่มขึ้น และเมื่อผู้ป่วยลดน้ำหนักได้ความรุนแรงของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นก็มักจะลดลง           นอกจากโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นแล้ว ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนมากขึ้น จะทำให้ร่างกายต้องใช้แรงมากขึ้นเพื่อขยายทรวงอกในการหายใจ ส่งผลให้กลศาสตร์ของระบบการหายใจแย่ลง [...]

โรคอ้วนกับปัญหาการนอนหลับ2023-09-13T16:37:47+00:00

ขอแสดงความยินดีกับทพญ. ชรินญา กาญจนเสวี ที่ได้บันทึกสถิติโลก Guinness World Records “Fastest Marathon dressed in Thai Traditional dress” ในงาน TCS London Marathon 2023

2023-04-26T16:09:33+00:00

ขอแสดงความยินดีกับทพญ. ชรินญา กาญจนเสวี ที่ได้บันทึกสถิติโลก Guinness World Records “Fastest Marathon dressed in Thai Traditional dress” ในงาน TCS London Marathon 20232023-04-26T16:09:33+00:00

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา

2023-04-25T15:46:05+00:00

          จอประสาทตา เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่ช่วยในการมองเห็น และมีโรคทางจอประสาทตาค่อนข้างมาก ซึ่งต้องอาศัยการผ่าตัดรักษาจอประสาทตาด้วยวิธีผ่าตัดน้ำวุ้นตา ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดจอประสาทตา เป็นโรคจอประสาทตาฉีกขาดหลุดลอก โรคจอประสาทตาลอกจากพังผืดดึงรั้ง เช่น ในคนที่เป็นเบาหวานขึ้นจอตา จุดรับภาพที่จอประสาทตาเป็นรู (Macular hole) พังผืดที่จุดรับภาพ เลือดออกในน้ำวุ้นตา มีการติดเชื้อในลูกตาและน้ำวุ้นตา หรือการอักเสบในน้ำวุ้นตา มีสิ่งแปลกปลอมในลูกตาส่วนหลังจากอุบัติเหตุ เช่น เศษเหล็ก เศษแก้ว เลนส์ตาหรือเลนส์แก้วตาเทียมเคลื่อนไปลูกตาส่วนหลัง การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ทานยารักษาโรคประจำตัวของตนเองได้ตามปกติ ยกเว้นยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน หรือยาที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือดอื่นๆ ต้องงดก่อนผ่าตัด 7 วันหรือตามแพทย์สั่ง หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ไอ มีเสมหะ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือแพทย์เจ้าของไข้ทราบก่อนผ่าตัด ควรสระผมให้สะอาดก่อนวันผ่าตัด ในวันที่ผ่าตัด ให้ล้างหน้า และห้ามทาครีมหรือโลชั่นที่ใบหน้า ห้ามใช้เจลทาผม และให้ถอดเครื่องประดับทุกชนิด และฟันปลอมก่อนเข้าห้องผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการทำความสะอาดในตาข้างที่จะผ่าตัด โดยการเช็ดตาและหยอดยาขยายม่านตา ถ้าการได้ยินไม่ดี ควรนำเครื่องช่วยฟังเข้าห้องผ่าตัดด้วย ถ้าปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ควรใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเข้าห้องผ่าตัด (กรณีผ่าตัดแบบไม่ดมยาสลบ) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้ดมยาสลบ [...]

การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา2023-04-25T15:46:05+00:00

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตา

2023-04-24T11:03:28+00:00

การฉีดยาเข้าวุ้นตา           เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทำให้ประสิทธิภาพของการรักษาโรคในดวงตาดีขึ้นกว่าในอดีตมาก การฉีดยาเข้าวุ้นตา สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับจอตา ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดผิดปกติที่จอตา และจอตาบวมจากสาเหตุต่างๆ เช่น จุดภาพชัดเสื่อมในผู้สูงอายุ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา หลอดเลือดต่ำที่จอตาอุดตัน เป็นต้น โดยยาฉีดเข้าวุ้นตา ออกฤทธิ์ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของหลอดเลือดผิดปกติ ช่วยลดการรั่วซึมของผนังหลอดเลือด และลดการบวมของจอตา บริเวณจุดภาพชัด จึงช่วยให้ระดับการมองเห็นดีขึ้น ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนฉีดยา พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันฉีดยา ทานยาโรคประจำตัวตามปกติ ไม่ต้องหยุดยาละลายลิ่มเลือด วัดสายตาเบื้องต้น วัดความดันตาและวัดความดันโลหิต หยอดยาขยายม่านตาข้างที่ฉีดยาหรือตามคำสั่งแพทย์ พบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจตา รับฟังคำอธิบาย ขั้นตอนการฉีดยาเข้าวุ้นตา ผู้ป่วยเซ็นชื่อยินยอมรับการรักษาโดยการฉีดยาเข้าวุ้นตา พร้อมพยานเซ็นรับทราบ พยาบาลหยอดยาชาข้างที่จะรับการฉีดยา การปฏิบัติตัวขณะฉีดยา จักษุแพทย์จะทำการฉีดยาเข้าวุ้นตาโดยวิธีการปราศจากเชื้อ เริ่มจากทาน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณเปลือกตาข้างที่จะฉีดจากนั้นคลุมหน้าด้วยผ้าปราศจากเชื้อ ผู้ป่วยนอนบนเตียงนิ่งๆ ห้ามเอามือจับผ้าที่คลุมหน้า แพทย์จะฉีดยาเข้าที่บริเวณเนื้อเยื่อตาขาวห่างจากขอบตาดำประมาณ 3- 4 มิลลิเมตร ขณะแพทย์ฉีดยา ให้กลอกตาตามที่แพทย์บอกไม่ควรบีบตา หรือกลอกตาไปมา ควรให้ตาอยู่นิ่งที่สุด หลังฉีดยา ผู้ป่วยบางรายจะได้รับการปิดตาตามแพทย์สั่ง และสามารถเปิดตาได้เมื่อกลับถึงบ้าน การปฏิบัติตัวหลังฉีดยาเข้าวุ้นตา     [...]

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาเข้าวุ้นตา2023-04-24T11:03:28+00:00

ภาพบรรยากาศงานสัมมนาออนไลน์และรับชมย้อนหลัง Live FaceBook ในงานสัมมนาความรู้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ กับกิจกรรม “Strong Heart Smart Mom 2023” ครั้งที่ 2

2023-05-15T15:54:41+00:00

โดย พ.ญ. วรรวดี ทรัพย์มี ปัญญากาศ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 คลิกรับชมย้อนหลังได้ที่นี่ !!

ภาพบรรยากาศงานสัมมนาออนไลน์และรับชมย้อนหลัง Live FaceBook ในงานสัมมนาความรู้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ กับกิจกรรม “Strong Heart Smart Mom 2023” ครั้งที่ 22023-05-15T15:54:41+00:00