Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

About admin1

This author has not yet filled in any details.
So far admin1 has created 86 blog entries.

ภัยเงียบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน

2020-08-11T08:36:07+00:00

           ใครจะคิดว่าปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิตลำดับต้นๆ จะเป็นจากกระดูกสะโพกหัก และสาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกสะโพกในผู้สูงอายุหักมาจากภาวะกระดูกพรุน            ภาวะกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกพรุน คือโรคที่มวลของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลทำให้กระดูกรับน้ำหนักหรือแรงกดดันได้น้อยกว่าปกติ ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักตามมา โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังและกระดูกบริเวณข้อมือ            ปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดปัญหากระดูกพรุน หรือ Osteoporosis ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยจะพบปัญหาในหญิงมากกว่าชาย เพราะในหญิงจะมีการลดลงของมวลกระดูกเป็นอย่างมากในช่วง 5 ปี หลังวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากวัยและเพศแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายทั้งยา อาหารและสารเคมี ซึ่งสามารถกล่าวรวมๆ ได้ว่าเกิดจากการสะสมของมวลกระดูกได้น้อย หรือการสูญเสียมากกว่าปกติ สรุปได้ดังตารางข้างล่างนี้            อันตราย ..... ! [...]

ภัยเงียบที่เกิดจากโรคกระดูกพรุน2020-08-11T08:36:07+00:00

โรคหืด โรคที่มักถูกละเลย (Asthma)

2020-08-14T16:26:17+00:00

           โรคหืด หรือบางคนเรียกว่าโรคหืดหอบนั้น เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งเริ่มต้นมักไม่มีอาการใดๆ ต่อมาจะเริ่มมีอาการ ไอ หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม มีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ เหนื่อยง่ายมากขึ้น ทำไมถึงถูกละเลย มีหลายเหตุผลที่โรคหืดถูกละเลยดังนี้ อาการเป็นพักๆ ไม่ได้เป็นตลอด บางครั้งมีแค่อาการไอนานๆ หลังจากการเป็นหวัด ระยะเริ่มแรกในผู้ใหญ่บางราย แค่ออกกำลังแล้วเหนื่อยเร็วขึ้น เข้าใจว่าหืดเป็นในเด็กเพียงอย่างเดียว            โรคหืดเป็นโรคที่พบได้บ่อย อุบัติการณ์ในประเทศไทยมีถึง 7% คนไทย 100 คน พบโรคหืดได้ถึง 7 คน และพบมากใน 2 ช่วงอายุ คือ วัยเด็ก และ วัยกลางคน โดยไม่จำเป็นต้องมีประวัติโรคหืดในวัยเด็กมาก่อนเลย  ในปัจจุบันแนวโน้มโรคหืดเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ใครบ้างที่ควรสงสัยว่าเป็นหืด คนที่มีอาการดังต่อไปนี้ ไอบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ, ไอนานหลังเป็นหวัด, เหนื่อยง่ายมากขึ้น, รู้สึกเสมหะเยอะ, ไอตอนกลางคืน หรืออากาศเย็น, มีเสียงวี๊ดเวลาหายใจ [...]

โรคหืด โรคที่มักถูกละเลย (Asthma)2020-08-14T16:26:17+00:00

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด Weight training และ วิ่ง ใครช่วยได้

2023-05-26T16:57:19+00:00

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด...ใครช่วยได้ (Sport injury)  ชอบวิ่ง Love Weight ถ้าบาดเจ็บควรทำอย่างไร            กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ การเล่นกีฬาและการออกกำลังกายทุกประเภทถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคน แต่หากว่าเราหักโหมมากเกินไปจนเกินกำลัง หรือออกกำลังกายผิดวิธีอาจส่งผลให้เราได้รับบาดเจ็บได้   อาการบาดเจ็บที่กระดูกอ่อนข้อเข่าอักเสบ จากการวิ่ง            วิ่ง ถือเป็นกิจกรรมยอดนิยมในยุคปัจจุบัน ด้วยเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย อุปกรณ์ไม่เยอะ ทำได้แทบจะทุกที่ ทุกเวลา แต่การวิ่งโดยเฉพาะการขึ้นลงบันได รวมถึงการวิ่งที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณลูกสะบ้าหัวเข่าได้ ซึ่งมักเกิดจากความไม่พร้อมทางร่างกายของตัวผู้วิ่ง หรือมีโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ กระดูกและเส้นเอ็น   อาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ จากการเล่นเวท            Weight Training การออกกำลังกายด้วยอุปกรณ์ หรือการเล่นเวท (Weight Training) กิจกรรมประเภทนี้หากมีการใช้น้ำหนักที่มากเกินไปหรือเล่นติดต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อจนทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ข้อควรหลีกเลี่ยงและควรปฏิบัติ     [...]

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด Weight training และ วิ่ง ใครช่วยได้2023-05-26T16:57:19+00:00

เมื่อใดที่เด็กควรพบหมอตา

2022-03-18T15:26:15+00:00

           การมองเห็นในคนปกตินั้น เริ่มมีการพัฒนาของสายตาตั้งแต่แรกคลอดและจะสมบูรณ์เต็มที่เมื่ออายุประมาณ 10 ปี แล้วสายตาจะคงที่จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นความผิดปกติของตาตั้งแต่เด็กจึงมีผลอย่างมากต่อการมองเห็นไปตลอดชีวิต การตรวจตาในเด็กจึงมีความสำคัญเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขี้น            เนื่องจากเด็กไม่สามารถบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองได้เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้นบิดามารดา หรือผู้ดูแลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็ก โดยเฉพาะความผิดปกติทางตาที่มักต้องใช้การสังเกตอย่างมากเพื่อจะบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น             อาการผิดปกติทางตาในเด็กอาจเกิดได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยอาการที่สำคัญที่ควรปรึกษาจักษุแพทย์มีดังนี้ ไม่จ้องหน้า หรือไม่มองตาม ในเด็ก 1-2 เดือนแรกจะมีพัฒนาการด้านสายตาก่อน เด็กจะต้องจ้องมองได้เมื่ออายุไม่เกิน 2 เดือนโดยจะมองหน้ามารดาขณะให้นม และมองตามหน้ามารดาที่ขยับไปมาได้เมื่ออายุ 2-6 เดือน และมองตามสิ่งของใหญ่ๆ ที่ไม่มีเสียง เมื่ออายุมากกว่า 6 เดือน หากเด็กมองตามเสียงเพียงอย่างเดียว อาจมีความผิดปกติทางตาก็ได้ ตาสั่น ขณะที่เด็กจ้องมอง ตาดำควรจะมองนิ่ง หากมีอาการตาสั่นอาจบ่งบอกถึงภาวะผิดปกติของตา หรือความผิดปกติของสมอง ตาวาวคล้ายตาแมวตอนกลางคืน หรือมองเห็นสีขาวในตาดำ อาจเกิดจากความผิดปกติของตา [...]

เมื่อใดที่เด็กควรพบหมอตา2022-03-18T15:26:15+00:00

โปรยิ้มสดใส ใส่ใจตรวจสุขภาพดวงตา สำหรับผู้ใหญ่

2024-11-10T11:57:03+00:00

  ***โปรแกรมเหมาจ่ายทุกโปรแกรมมีสิทธิเรียกร้องประกันได้***  

โปรยิ้มสดใส ใส่ใจตรวจสุขภาพดวงตา สำหรับผู้ใหญ่2024-11-10T11:57:03+00:00

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด…ฟุตบอล และ กอล์ฟ ใครช่วยได้

2020-07-07T09:05:46+00:00

กีฬา กีฬาเป็นยาวิเศษ การเล่นกีฬาและการออกกำลังกายทุกประเภทถือเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคน แต่หากว่าเราหักโหมมากเกินไปจนเกินกำลัง หรือออกกำลังกายผิดวิธีอาจส่งผลให้เราได้รับบาดเจ็บได้

บาดเจ็บจากกีฬาโปรด…ฟุตบอล และ กอล์ฟ ใครช่วยได้2020-07-07T09:05:46+00:00

(รู้ทัน) โรคอ้วน

2023-03-16T16:30:46+00:00

           โรคอ้วน ภาวะที่มีการสะสมไขมันในร่างกายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีอายุสั้นลง รวมถึงมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น หายใจติดขัด นอนกรน เหนื่อยง่าย การที่เราจะระบุว่าใครที่เข้าข่ายโรคอ้วนพิจารณาได้จากดัชนีมวลกาย (BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง คนที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, โรคข้อเสื่อม, เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, มีบุตรยาก เป็นต้น วิธีคำนวณ BMI BMI= น้ำหนัก (กิโลกรัม) / [ส่วนสูง (เมตร)]2 สาเหตุของโรคอ้วน ได้พลังงานจากอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย ความเสี่ยงทางพันธุกรรม วิธีลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วน            เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การควบคุมน้ำหนักร่วมกับการออกกำลังกายเป็นหลักสำคัญ คนที่มีภาวะอ้วนควรลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น [...]

(รู้ทัน) โรคอ้วน2023-03-16T16:30:46+00:00

สูงสมวัยลูกไม่เตี้ย

2020-03-27T14:35:30+00:00

           “สูง...ยาว...เข่าดี” ใช้เป็นคำชมทั้งหญิงและชายที่มีรูปร่างสูงและดูดี เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงปรารถนาที่จะเห็นลูกน้อยเติบโตสูงใหญ่ไม่เตี้ยกว่าเพื่อนๆ เพราะความเตี้ยถือเป็นปมด้อยที่อาจไปทำลายความมั่นใจให้ลูกและอาจมีผลต่อการประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย การที่คุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ในการเลี้ยงดูลูก ดูแลทั้งทางด้านโภชนา ติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด รวมถึงการส่งเสริมลูกด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัยนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและสมควรทำอย่างยิ่ง แต่คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตลูกหรือไม่ ในเมื่อให้ลูกบริโภคอาหารหรือนมอย่างเพียงพอรวมถึงการเล่นกีฬาแล้ว แต่ทำไมลูกเตี้ยหรือตัวเล็กกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน ดังนั้นหากพบว่า ลูกมีลักษณะอ้วนเตี้ย คุณพ่อ คุณแม่เตี้ย น้อง (พ่อแม่เดียวกัน) สูงเกือบเท่า หรือสูงเท่ากัน หรือสูงกว่า ลูกน้ำหนักน้อยและตัวสั้นตั้งแต่เกิด เด็กผู้หญิง (มีเต้านมโต หรือขนหัวหน่าว) เป็นสาวก่อนอายุ 8 ปี และเด็กผู้ชายเป็นหนุ่มเร็ว (มีอัณฑะโตขึ้น องคชาตยาวขึ้น) ก่อนอายุ 9 ปี ลูกมีความพิการทางร่างกายและสติปัญญา มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ลูกมีอาการเบื่ออาหาร ลูกขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ            ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ช่วยบ่งชี้ว่าเด็กมีแนวโน้มจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เตี้ย แต่สามารถแก้ไขได้ ถ้าหากเด็กอยู่ในช่วงวัยที่เหมาะสม

สูงสมวัยลูกไม่เตี้ย2020-03-27T14:35:30+00:00

โปรโมชั่นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็ก ช่วงอายุ 1 เดือน – 6 เดือน

2024-05-17T16:44:13+00:00

***โปรแกรมเหมาจ่าย ทุกโปรแกรมไม่สามารถใช้สิทธิเบิกประกันได้***

โปรโมชั่นวัคซีนที่จำเป็นสำหรับเด็ก ช่วงอายุ 1 เดือน – 6 เดือน2024-05-17T16:44:13+00:00

โรคภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy)

2024-04-11T15:52:15+00:00

"โรคภูมิแพ้รบกวนชีวิต รู้สาเหตุรักษาได้ มีสิทธิ์หายขาด"  ภูมิแพ้อาหาร หรือ Food Allergy           มนุษย์กับการกิน อาจพูดได้ว่าแยกกันแทบไม่ออก บางคนกินตั้งแต่ตื่นจนกระทั่งหลับ มนุษย์ต่างเชื้อชาติทำให้อาหารยิ่งหลากหลาย แต่ใครจะรู้ว่าอาหารบางประเภทอาจก่อให้เกิดโรคคนได้ ภูมิแพ้อาหาร หรือ Food Allergy คือภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองต่อโปรตีนในอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่แพ้จนเกิดอาการต่างๆ เช่น ผื่นลมพิษ อาเจียน แน่นหน้าอก หน้าบวม ปากบวม หายใจไม่ออก           Oral Food Challenge  คือการให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่สงสัยว่าทำให้เกิดอาการแพ้โดยเริ่มจากปริมาณเล็กน้อย และค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้น แพทย์จะเฝ้าระวังติดตามอาการที่กำหนดตามมาตรฐานเพื่อดูว่ามีปฏิกิริยาการแพ้เกิดขึ้นหรือไม่ การทดสอบนี้เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่ผู้ป่วยอาจจะเกิดปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงได้ ดังนั้นจึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางภูมิแพ้ และทำในสถานพยาบาลที่มียาและอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่มีความพร้อม ใครที่ควรทำการทดสอบ Oral Food Challenge ผู้ที่เคยมีประวัติแพ้อาหาร แต่ต้องการพิสูจน์ ว่าหายแล้วหรือไม่ ผู้ที่สงสัยว่าตนเองแพ้อาหารแต่มีอาการแสดงไม่ชัดเจน ผู้ที่ต้องการตรวจให้แน่ชัดว่าแพ้อาหารชนิดใด ผู้ที่จะเข้ารับการรักษาภาวะแพ้อาหารด้วยการรับประทาน (Oral Immunotherapy)   วิธีทดสอบอาการแพ้อาหารเบื้องต้น [...]

โรคภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy)2024-04-11T15:52:15+00:00