กลุ่มเสี่ยง
ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากก็มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่าถ้าบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไปมากขึ้น รวมถึงชายที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีอาการเสี่ยง
อาการ
- ปัสสาวะบ่อย
- ปัสสาวะลำบาก ต้องเบ่งปัสสาวะมากขึ้น
- ปัสสาวะไม่พุ่ง
- เวลาปัสสาวะจะปวด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะมีเลือด หรือมีเลือดปน มีเลือดในน้ำเชื้อ
- ปวดหลังปวดข้อ หรือมีกระดูกหักได้ง่าย บางรายอาจเป็นอัมพาต จากกระดูกสันหลังหักทับเส้นประสาทได้ นอกจากนั้นอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ร่วมอยู่ด้วย
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และเกิดภาวะซีดไม่ทราบสาเหตุ
การตรวจเช็กมะเร็งต่อมลูกหมาก
ในผู้ชายที่มีปัจจัยเสี่ยงและกลุ่มอาการดังกล่าวข้างต้น ควรได้รับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ปีละ 1 ครั้ง ดังนี้
- รับการตรวจทางทวารหนักจากแพทย์ โดยแพทย์จะทำการสอดนิ้วเข้าทางทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมาก
- เจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
- การใช้อัลตราซาวนด์ตรวจต่อมลูกหมาก และนำชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากมาตรวจ
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
มะเร็งต่อมลูกหมากแบ่งอาการของโรคออกเป็นได้ 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 มะเร็งต่อมลูกหมากยังมีขนาดเล็ก ยังไม่มีอาการใดๆ ปรากฏ
- ระยะที่ 2 มะเร็งโตมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ปรากฏอาการ
- ระยะที่ 3 มะเร็งโตมาก และลุกลามออกนอกต่อมลูกหมาก แต่ยังไม่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง หรือไปอวัยวะอื่นๆ ระยะนี้ผู้ป่วยเริ่มจะมีอาการ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก
- ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลาม ไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ เช่น กระจายไปกระดูก ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดกระดูก น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และอาจเป็นอัมพาตได้
การรักษา
- การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
- การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้น ปัจจุบันมีการใช้กล้องและหุ่นยนต์ในการรักษา
- Radiation therapy การให้รังสีรักษา เป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้ว การให้รังสีรักษาอาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiation หรือ Brachtherapy
- Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโต การให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้วหรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษา
- Chemotherapy การให้เคมีบำบัด เป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมี ซึ่งการรักษายังไม่ดีพอ ใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
- ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู้กับเชื้อโรค
- Cryotherapy เป็นการรักษาใหม่ โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมากใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัด ผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี