ด้วยหลักคิดแนวการแพทย์แผนใหม่ เน้นการป้องกันและการเดินหน้าเชิงรุก ตรวจหาโรคแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาตั้งแต่ยังไม่ลุกลาม ร้ายแรง ทำให้เกิดคำถามว่า โรคร้ายกาจอย่าง “มะเร็ง” สามารถทำนายล่วงหน้า เพื่อการป้องกันไม่ให้มะเร็งเกิดขึ้นได้หรือไม่
- เกิดมากับมะเร็ง
หลายคนบอกว่า เกิดมาพร้อมกับมะเร็ง เป็นบาปที่ติดมาตั้งแต่เกิด ตระกูลนี้เป็นมะเร็งมาหลายชั่วคนอย่างไรเสียก็ต้องเสียชีวิตด้วยมะเร็ง เพราะมะเร็งถ่ายทอดทางพันธุกรรม…เป็นมะเร็งทั้งตระกูล แม้มะเร็งเต้านมยังไม่เว้นแม้แต่ผู้ชาย
ในความเป็นจริง มะเร็งถ่ายทอดทางพันธุกรรมจริง หากแต่ไม่จำเป็นต้องเป็น “ทุกคน” เนื่องจากการสืบทอดพันธุกรรมนั้น เกิดจากพ่อและแม่อย่างล่ะครึ่งหนึ่ง โดยส่งผ่านโครโมโซมจากพ่อและแม่มายังลูก ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นมะเร็งทางพันธุกรรม คือ 50:50 แม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงส่งต่อการสืบต่อยีนมะเร็งทางพันธุกรรมก็ตามและในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด จำนวนผู้ป่วยที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นมีเพียงไม่เกินร้อยละ 10 เท่านั้น หมายความว่าในผู้ป่วยมะเร็ง 10 คน มีผู้ป่วยจากการ “เกิดมากับมะเร็ง” เพียงรายเดียว นอกนั้นเป็นมะเร็งจากปัจจัยอื่น
- ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง
ปัจจัยที่มีผลต่อมะเร็งอาจสรุปให้เห็นภาพง่าย ได้ดังนี้
- การทำนายมะเร็งร้ายในตัวคุณ การทำนายมะเร็งในบุคคลทั่วไปหากจะยึดตามหลักการที่สมาคมมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Society) แนะนำ เราสามารถทำนายมะเร็งได้โดยดูจากอาการและอาการแสดงเหล่านี้
- มีเลือดหรือสารคัดหลั่งออกผิดปกติ เช่น มีเลือดออกจากหัวนม ช่องคลอด ปะปนในอุจจาระหรือปัสสาวะ
- แผลไม่หายใน 2 สัปดาห์ มีขนาดโตขึ้น เจ็บปวด หรือมีเลือดออก
- การขับถ่ายผิดปกติ ทั้งความถี่และรูปแบบการขับถ่าย
- มีก้อนในที่ใดที่หนึ่งของร่างกาย
- อาการไอเรื้อรัง ร่วมมีเสียงแหบ เสี่ยงเปลี่ยน ไอไม่หาย มีเสมหะปนเลือดออกมา
- ไฝหรือกระที่มีการเปลี่ยนแปลง มีขอบเขตรูปร่างไม่ชัดเจน ขอบขรุขระหรือมีสีเปลี่ยน
- การกลืนลำบาก รู้สึกมีก้อนที่ขัดขวางการกลืนหรือรับประทานอาหาร
อาการแสดงออกและความผิดปกติดังที่กล่าวมา ถือว่าเป็นแนวทางในการทำนายมะเร็ง แต่การทำนายมะเร็งด้วยวิธีการเหล่านี้ มีข้อเสียคือ เมื่อมีสัญญาณต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น มักพบว่ามะเร็งได้ลุกลามไปแล้ว ไม่สามารถใช้ทำนายมะเร็งในระยะเริ่มต้นได้ และบางครั้งมะเร็งที่พบเป็นมะเร็งที่ลุกลามสู่ระยะที่สองหรือระยะที่สามแล้วจึงไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
ดังนั้นแนวความคิดในการทำนายมะเร็ง อาจจะต้องกลับมาพิจารณาที่สาเหตุของการเกิดมะเร็ง เพื่อให้ได้ผลแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งทางการแพทย์พบว่าปัจจัยเสี่ยงก่อมะเร็งมีด้วยกันสองประการคือ
- มะเร็งเกิดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงได้
ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่แต่ละบุคคลรับเข้ามาภายหลัง จากสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การติดเชื้อไวรัสบางตัว รวมทั้งการได้รับสารก่อมะเร็งซึ่งมีมากมายหลายพันชนิด ซึ่งกลุ่มนี้นับเป็นสัดส่วนร้อยละ 90-95 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด
- มะเร็งเกิดจากปัจจัยภายในที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจัยภายในเหล่านี้ ได้แก่ มะเร็งที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 -10 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด (ทุกประเภทรวมกัน)
มะเร็งเต้านมกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- มะเร็งเต้านมกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ปัจจุบันมีผู้เป็นมะเร็งเต้านมในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้การมียีนผิดปกติแผ่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่เครือญาติ ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวหรือเครือญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 2-5 เท่า ดังนั้น ประวัติความเจ็บป่วยในครอบครัวจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม
ตัวอย่างสัดส่วนของมะเร็งถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมะเร็งจากปัจจัยภายนอก
- ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านมในฝาแฝด
เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยใหม่ในแต่ล่ะปีมีประมาณ 6,000-8,000 ราย ในจำนวนนี้มีร้อยละ 5-10 ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หมายถึงผู้ป่วย 300-800 ราย ในแต่ละปีป่วยด้วยมะเร็งเต้านมทางพันธุกรรม และจะมีผู้หญิงใน 300-800 ครอบครัว มีโอกาสได้รับยีนมะเร็งเต้านมจากมารดาทุกปี ซึ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านม หากแต่มีโอกาสรับมาร้อยละ 50
จะเห็นว่าการถ่ายทอดยีนมะเร็งเต้านมพันธุกรรมเป็นประเด็นที่ควรพิจารณา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดยีนมะเร็งจะต้องป่วยด้วยมะเร็งเต้านมทุกราย โอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านมเมื่อรับยีนมะเร็งมามีประมาณร้อยละ 80
จากตัวอย่างของมะเร็งเต้านมจะเห็นได้ว่า เราสามารถแบ่งกลุ่มของการเกิดมะเร็งได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มียีนมะเร็ง (ร้อยละ 5-10) กับกลุ่มที่ไม่มียีนมะเร็ง แต่ทั้งสองกลุ่มสามารถอาศัยการตรวจทำนายมะเร็งเพื่อการพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ ในรูปแบบเดียวกันได้ หากแต่ในกลุ่มที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการถ่ายทอดเชื้อมะเร็งพันธุกรรม จำเป็นจะต้องตระหนักในความเสี่ยงของตัวเอง ที่อาจเกิดมะเร็งขึ้นได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้นการตรวจคัดกรองหามะเร็งในรูปแบบต่างๆ หรือการตรวจหาความเสี่ยงใดก็ตามจำเป็นต้องได้รับเมื่ออายุยังน้อย จากที่ผ่านมามีกรณีศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจากพันธุกรรมพบเกิดในวัยรุ่นอายุ 18 ปี เท่านั้น
ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งในครอบครัวที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ ควรใส่ใจในการเข้ารับการตรวจหามะเร็งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากมะเร็งยิ่งตรวจพบได้ในระยะแรกๆ มีโอกาสรักษาหายได้ ในบางชนิดสามารถบอกได้ว่า รักษาหายขาดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ อาทิ มะเร็งเต้านม เป็นต้น
กลุ่มที่เป็นมะเร็งซึ่งถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ จะมีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างจากกลุ่มทั่วไปที่พอสังเกต คือ
- สมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อยๆ (น้อยกว่า 40 ปี)
- มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนในครอบครัวเดียวกัน (2-3 คนขึ้นไป)
- เป็นมะเร็งเต้านม 2 ข้าง (ตามปกติมะเร็งเต้านมจะเกิดเพียงข้างเดียว)
- พบมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
ตัวอย่างการตรวจมะเร็งที่เต้านมในเพศหญิง
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์