Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

สาเหตุของอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ศูนย์กระดูกและข้อ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา โรงพยาบาลเจ้าพระยาพร้อมให้คำปรึกษาและรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด ข้อเท้าแพลง ข้อเคลื่อน เอ็นเข่าฉีกขาด กระดูกอ่อนในเข่าฉีกขาด ข้อไหล่หลุด เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ข้อเท้าเคล็ด ข้อเท้าหัก เอ็นร้อยหวายอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด กระดูกไหปลาร้าหลุด เจ็บบริเวณข้อศอก นิ้วเคล็ด ข้อมือหัก เป็นต้น

ศูนย์กระดูกและข้อ

สาเหตุของอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ศูนย์กระดูกและข้อ

สาเหตุของอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

  • อาการบาดเจ็บเฉียบพลัน หรือจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดอาการแตก หัก ฉีกขาด เพราะกีฬาแต่ละประเภทชนิดจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะกีฬาที่มีความเสี่ยงมาก เช่น มวย คาราเต้ ยูโด เป็นต้น
  • อาการบาดเจ็บเรื้อรัง หรือจากการใช้งานมากจนเกินไปซ้ำๆ ที่เดิมและสะสมมานาน เพราะกีฬาแต่ละประเภทจะมีการใช้โครงสร้างกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน การบาดเจ็บจึงขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬาแต่ละชนิดด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาการบาดเจ็บที่ส่วนขา เนื่องจากการเล่นกีฬาส่วนใหญ่ต้องมีการเดิน การยืน หรือการวิ่ง กีฬาบางชนิดหากเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไม่เหมาะสมเป็นประจำ ก็อาจทำให้บาดเจ็บเรื้อรังได้ เช่น การเล่นเทนนิส การตีกอล์ฟ

           ส่วนกีฬาที่ไม่ได้ใช้การเคลื่อนไหวมากนักก็มีโอกาสที่จะบาดเจ็บได้เช่นเดียวกัน เช่น กีฬากอล์ฟ แต่มีโอกาสบาดเจ็บน้อยมาก เนื่องจากเป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ทุกเพศทุกวัย กรณีที่ผู้เล่นมีอายุเท่ากันก็อาจจะมีโอกาสบาดเจ็บที่แตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับทักษะและการฝึกฝนของผู้เล่น นอกจากนี้กีฬาแต่ละประเภทมีวิธีการเล่นที่แตกต่างกัน อาการบาดเจ็บมากน้อยจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ตำแหน่งของผู้เล่น การฝึกซ้อม และทักษะของผู้เล่น เป็นต้น

แนวทางการรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

  • การรับประทานยา
  • การฉีดยา
  • การกายภาพบำบัด
  • การผ่าตัด

           การรับประทานยา แพทย์จะให้ยาที่มีอะเซตามิโนฟีนหรือยาแก้อักเสบไร้สารสเตียรอยด์ (ยากลุ่ม NSIAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน นาพร็อกเซน แอสไพริน เป็นต้น แต่ถ้าอายุต่ำว่า 18 ปีไม่ควรใช้ยาแอสไพริน เพราะมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอาการ Reye’s syndrome ซึ่งส่งผลกระทบต่อสมองอย่างรุนแรง และหากรับประทานยากลุ่มนี้บ่อยๆ ก็จะลดอัตราการซ่อมแซมของกล้ามเนื้ออีกด้วย
           การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปตรงบริเวณที่มีอาการยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบได้ดี แต่แพทย์แนะนำให้ฉีดไม่ควรมากกว่า 3-4 ครั้งต่อปี เนื่องจากอาจทำให้เส้นเอ็นขาดได้
           การกายภาพบำบัด ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจร่างกาย เพื่อดูอาการยึดรั้งหรือการอักเสบว่าเกิดขึ้นที่บริเวณใด และระยะที่มีอาการอยู่นั้นเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้แก่ การใช้ความร้อน-เย็น การใช้คลื่นเสียง(ultrasound) แนะนำท่าออกกำลังกายเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับระยะของโรค หรือการใส่อุปกรณ์รัดตรงบริเวณต้นแขนเพื่อให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือทำงานลดลง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซํ้าอีก
           การผ่าตัด ใช้สำหรับผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล ปัจจุบันนักกีฬาสามารถที่จะกลับมาเล่นกีฬาได้ด้วยการผ่าตัดเทคนิคส่องกล้อง เพราะทำให้มีแผลผ่าตัดที่ขนาดเล็ก เจ็บปวดน้อย และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูตัวได้เร็วขึ้น

2020-02-13T14:27:24+00:00