เท้าแบน …ภัยเงียบของลูกน้อย
เท้าแบน เป็นภาวะที่ผู้ปกครองนำบุตรหลานมาพบแพทย์บ่อยที่สุด คุณพ่อหรือคุณแม่สามารถสังเกตุบุตรหลานของท่านได้เองโดยจะเห็นอุ้งเท้าหายไปเวลายืนหรือเดิน
เท้าแบน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.เท้าแบน แบบนิ่ม (Flexible Flatfoot)
- ส่วนโค้งเว้าด้านในของเท้าเป็นปกติ
- ไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ
- จำนวน 1 ใน 4 แบนมากและสัมพันธ์กับภาวะเอ็นร้อยหวายตึง
- พบได้บ่อยที่สุด
สาเหตุ ยังไม่เป็นที่สรุปโดยชัดเจน แต่พบโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีมาก เมื่อมีพ่อแม่ญาติพี่น้อยเป็นเท้าแบน และมีรายงานถึงการพบเท้าแบนมากขึ้นในเด็กที่ใส่รองเท้าตั้งแต่ในช่วงวัยหัดเดินมากกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ใส่
2.เท้าแบน แบบแข็ง (Rigid Flatfoot)
- พบได้น้อยกว่ามาก
- ด้านของเท้าจะโค้งนูนออกมาตลอดเวลาดังในรูป
- มีอาการเจ็บปวดเมื่อยืนหรือเดินมาก
- มีปัญหาในการใส่รองเท้า
- รูปร่างเท้าผิดปกติมาก
วิธีการรักษา
- จะมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดการผิดรูปไปมากกว่าเดิม
- ควบคุมน้ำหนัก
- ใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้า
- ถ้าเป็นมากจำเป็นต้องผ่าตัดรักษา
- ปรับกิจกรรม
- ทำกายภาพบำบัด
รศ.น.พ. จตุพร โชติกวณิชย์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์