Language : | |
Call : 02-434-1111, 02-884-7000

ห่วงใยสุขภาพ ด้วยวิธีง่ายๆ ในเรื่องกระดูกและข้อ

           การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ  ยังคงใช้ได้จนถึงปัจจุบันนี้ แต่สำหรับโรคกระดูกและข้อไม่ได้เกิด

ขึ้นง่ายๆ กับเด็กและวัยรุ่น แต่พบได้ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับกระดูกและข้อ
           1. อุบัติเหตุ และอันตรายที่เกิดจากการทำงาน เช่น ยกของหนัก และการเล่นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายที่ร่างกายสามารถรับได้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเอ็นเคล็ดยอกฉีกขาด หรือ โรคกระดูกหักได้
           2. ผู้สูงอายุ (วัยทอง – 60 ปี) ประเทศไทยพบผู้สูงอายุแล้วเป็นโรคกระดูกและข้อมากขึ้น ทั้งนี้เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกายที่ถูกใช้งานมานาน ส่วนมากไม่ได้รับการดูแลและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่วัยรุ่น การสร้างเสริมกระดูกและแคลเซี่ยมลดลง ถ้ามีน้ำหนักตัวมากขึ้นข้อขาและเข่าต้องรับน้ำหนักตัวมาก ทำให้เกิดการเสื่อมได้ง่าย ซึ่งเกิดปัญหาโรคข้อตามมา
           3. เด็กผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งเราไม่สามารถหาวิธีป้องกันได้ แต่รักษาได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น มือเท้าพิการ โรคท้าวปุก หลังคดงอ ฯลฯ

วิธีการรักษา

           โรคกระดูกและข้อ  ที่เกิดขึ้นในกรณีต่างๆ  สามารถรักษาให้หายได้ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  ถ้าเป็นไม่มาก แพทย์ใช้วิธีจัดยาแล้วทำกายภาพบำบัด  แต่ถ้าเป็นมากต้องเข้ารับการผ่าตัด

           น้ำหนักตัวมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดโรคกระดูกและข้อ  เพราะการรับน้ำหนักที่มากเกินไปของกระดูกและข้อโดยเฉพาะข้อเข่า  ทำให้เกิดการเสื่อมได้ไวกว่ากลุ่มคนที่รักษารูปร่างให้สมส่วน  เพราะฉะนั้นหันมาออกกำลังกายกันตั้งแต่ในวัยรุ่นจะดีกว่า  แต่ถ้าอายุมากแล้วอยากแข็งแรงแล้วหันมาออกกำลังกายเอาตอนนี้ก็ไม่สายเกินไป ดีกว่านั่งๆ นอนๆ  อย่างน้อยถ้าร่างกายได้ขยับเขยื้อนก็ไม่ทำให้เราอ้วนโรคภัยก็ไม่เบียดเบียน เป็นการปฏิบัติง่ายๆ    แล้วอย่าลืมทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย

                                                                                                                                                                                                                 ด้วยความปรารถนาดีจาก

                                                                                                                                                                                               ศูนย์โรคกระดูกสันหลัง และศูนย์โรคกระดูกและข้อ

2019-09-05T11:33:34+00:00